วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี(สินธพ)


สินธพ


          สินธพ เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลม้า ลักษณะภายนอกจะเป็นม้ามีหางเป็นปลาตัวสีดำ หางแปรงสีขาว อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาบ คำว่าสินธพหมายถึงม้าแม่น้ำ รากศัพท์มาจากคำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศอินเดีย[1] สินธพเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดับสระอโนดาดบริเวณพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ความหมายของชื่อ
สินธพ แปลว่า ม้าพันธุ์ดี เดิมหมายถึงม้าพันธุ์ดีที่เกิดในลุ่มแม่น้ำสินธุ คำว่า “สินธุ”อีกทั้งยังเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธุในปัจจุบันง เหตุที่ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้มีชื่อเสียงด้านม้า

ลักษณะพิเศษ
ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย





สัตว์ในวรรณคดี(มาริศ)

มาริศ


มารีศ หรือ ม้ารีด เป็นยักษ์กายสีขาว เป็นบุตรของนางกากนาสูร เมื่อทศกัณฐ์ได้ฟังคำยอโฉมนางสีดาจากนางสำมนักขา ก็ให้หลงใหลอยากได้นางเป็นชายา จึงบังคับมารีศให้แปลงเป็นกวางทองเดินไปให้นางสีดาเห็น นางสีดาอยากได้กวางทองจึงอ้อนวอนให้พระรามออกไปจับมาให้ พระรามรู้ว่าเป็นยักษ์จึงใช้ศรยิงมารีศล้มลง มารีศแกล้งดัดเสียงเป็นพระรามร้องขึ้นดัง ๆ เหมือนได้รับบาดเจ็บ นางสีดาได้ยินคิดว่าพระรามมีอันตรายขอให้พระลักษมณ์ตามไปช่วย แล้วมารีศก็ขาดใจตาย
มารีศ มีบุตรคือ นนยวิก วายุเวก
อนึ่งในจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สะกดชื่อมารีศว่า "ม้ารีด" โดยภาพของมารีศมีลักษณะคือตัวเป็นม้า หน้าเป็นยักษ์
ลักษณะหัวโขน
กายสีขาว สวมมงกุฎ 3 กลีบ


สัตว์ในวรรณคดี(กินรี)





กินรี





          กินรี (อ่านว่า กิน-นะ-รี) (ตัวเมีย) และ กินนร หรือ กินรา (อ่านว่า กิน-นะ-รา) (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาส นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน


ต้นกำเนิด

            กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ (พระพุธ คือ ฤๅษี สามารถมีเมียได้ และท้าวอิลราช เมื่อช่วงเดือนที่เป็นหญิงก็น่าจะลืมช่วงที่เคยเป็นชายจึงยอมเป็นเมียฤๅษี)

          ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินนร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ 1,000 ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพรานบุญดักจับตัวได้

และในกัลลาติชาดก ยังได้แบ่งพวกกินนรออกเป็น 7 ประเภท คือ

1.เทวกินรา เป็นพวกเทพกินรา ครึ่งเทวดาครึ่งนก เป็นประเภทที่คนไทยคุ้นเคย
2.จันทกินรา จากนิทานชาดก เรื่องจันทกินรี มีรูปกายเป็นคน แต่มีปีก
3.ทุมกินรี น่าจะเป็นพวกอาสัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
4.ทัณฑมาณกินรา ชนิดนี้น่าจะมีอะไรคล้ายๆ นกทัณฑิมา ซึ่งเป็นนกปากยาวดุจไม้เท้าอยู่บนใบบัว
5.โกนตกินรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
6.สกุณกินรา - เป็นกินนรที่มีร่างท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก แต่ไม่เป็นเทวดาเหมือนประเภทที่ 1
7.กัณณปาวรุณกินรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด


จิตรกรรม

          ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย

นาฏกรรม

          นางกินรี มีในวรรณกรรมของไทยหลายเรื่อง เรื่องที่แพร่หลายที่สุด คือวรรณกรรมเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งตัวนางเอกเป็นนางกินรี มาจากป่าหิมพานต์และถูกจับได้เมื่อลงมาเล่นน้ำในสระ จนต้องกลายเป็นพระมเหสีของพระสุธนผู้เป็นมนุษย์ และถูกกลั่นแกล้งให้ถูกเผาทั้งเป็น แต่นางใช้อุบายหลอกขอปีกหางที่ถูกยึดไว้และบินหนีรอดมาได้ ภายหลังพระสุธนออกติดตามไปยังป่าหิมพานต์และได้พบกันในที่สุด นาฏกรรมในเรื่องนี้มีหลายชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ชุด มโนราห์บูชายัญ , ระบำกินรีร่อน และระบำไกรลาศสำเริง

          ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ได้ประดิษฐ์ท่ารำให้มีลีลาอ่อนช้อย งดงาม กับทั้งสอดแทรกความร่าเริงของเหล่ากินรี ที่โผผินบินมาเริงระบำกันอย่างสนุกสนาน โดยให้เข้ากับท่วงทำนองและจังหวะเพลง บางครั้งรำก่อนมโนราห์บูชายัญ หรือบางครั้งก็รำต่อท้ายมโนราห์บูชายัญ

ที่มา:กินรี-วิกิพีเดีย

วีดีโอประกอบ