วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี (เงือก)


เงือก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นางเงือก




 เงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ในหลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย

โดยเชื่อว่า แท้จริงแล้วสัตว์ที่มนุษย์เห็นเป็นเงือก คือ พะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ ที่เมื่อให้นมลูกแล้วจะลอยตัวกลางน้ำเหมือนผู้หญิงให้นมลูก

ในประเทศไทยภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดตรีทศเทพวรวิหาร กรุงเทพมหานครเงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกันหนึ่งองค์ ชื่อว่า สุดสาคร

ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้
  1. งู : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน 
  2. สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏในลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน
  3. สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้ 
  4. มังกร คนไทบ้างกลุ่มในประเทศจีนและเวียดนาม จะเรียกมังกรว่า "เงือก" เช่น ไทปายี ไทเมือง และกะเบียว ในเวียดนาม


ลักษณะของเงือกที่พบในไทยตามเรื่องเล่าพื้นบ้าน
          มีใบหน้าเล็กขนาดเท่างบน้ำอ้อย
มีหวีและกระจก มักจะปรากฏกายขึ้นเหนือน้ำในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเพื่อนั่งสางผม ถ้ามีใครผ่านมาเห็นจะตกใจหนีลงน้ำโดยทิ้งเอาไว้ ถ้ามีผู้ได้ครอบครองสามารถที่จะเข้าฝันทวงคืนได้
มีเสียงไพเราะทำให้เดินตกน้ำได้ 








วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี(ม้านิลมังกร)


ม้านิลมังกร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ม้านิลมังกร



          ม้านิลมังกร หรือ ม้ามังกร สัตว์ประหลาดในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ตามจินตนาการของสุนทรภู่ เป็นพาหนะของสุดสาคร โดยสุนทรภู่ได้รจนาถึงลักษณะของม้านิลมังกรไว้ว่า

พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พัก หัวร่อคักรูปร่างมันช่างขัน
เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์ กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร
กินคนผู้ปูปลาหญ้าใบไม้ มันทำได้หลายเล่ห์อ้ายเดรฉาน
เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปาน ถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน
เจ้าได้ม้าพาหนะตัวนี้ไว้ จะพ้นภัยภิญโญสโมสร
ให้ชื่อว่าม้านิลมังกร จงถาวรพูนสวัสดิ์แก่นัดดา

          โดยที่สุนทรภู่แต่งให้ม้านิลมังกร ปรากฏตัวครั้งแรกที่ชายหาด เกาะแก้วพิสดาร และสุดสาครไปพบเข้าเป็นสัตว์ดุร้าย มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ สุนทรภู่ได้ให้รายละเอียดความเป็นมาของสัตว์ประหลาดนี้ โดยแต่งให้พระโยคีหรือพระฤๅษีแห่งเกาะแก้วพิสดาร ได้รับฟังคำบอกเล่าของสุดสาครแล้วเพ่งดูทางใน จึงรู้ถึงที่มาของสัตว์ประหลาดนี้ ว่า

พระทรงศิลป์ยินสุดสาครบอก นึกไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา

จึงเล็งญาณฌานชิดด้วยฤทธา ก็รู้ว่าม้ามังกรสมจรกัน

ครั้นลูกมีศีรษะมันเหมือนพ่อ ตัวตีนต่อจะเหมือนแม่ช่างแปรผัน

หางเป็นนาคมาข้างพ่อมันต่อพันธุ์ พระนักธรรม์แจ้งกระจ่างด้วยทางฌาน

จึงนึกว่าม้านี้มันมีฤทธิ์ จำจะคิดจับไว้ให้พระหลาน

ได้ตามติดบิตุรงค์พบวงศ์วาน สิทธาจารย์ดีใจจึงไขความ

ม้าตัวนี้ดีจ้านเจียวหลานเอ๋ย เป็นกะเทยเขี้ยวเพชรไม่เข็ดขาม

จับไว้ขี่มีสง่ากล้าสงคราม จะได้ตามบิตุเรศไปเขตคัน

          กล่าวคือ สัตว์ประหลาดนี้เป็นลูกผสม เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างม้า (แม่) กับมังกร (พ่อ) ลูกที่ออกมาเป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร ส่วนหัวเป็นมังกรเหมือนพ่อ ส่วนตัวจนถึงขาเป็นม้าเหมือนแม่ มีหางนาค และเป็นกะเทย (สุนทรภู่น่าจะได้ความคิดมาจากการผสมข้ามพันธุ์ม้ากับลา ทำให้ได้ลูกออกมาเป็นล่อ ซึ่งจะไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้)

          พระโยคีได้สอนมนต์ให้สุดสาครใช้กำราบม้ามังกร รวมทั้งให้ไม้เท้าวิเศษของตนไปใช้ต่อสู้กับม้ามังกรด้วย ในที่สุด ม้านิลมังกร ก็ถูกปราบจนเชื่องกลายเป็นสัตว์พาหนะของสุดสาคร และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อนาย จากการมาช่วยสุดสาครที่ตกหน้าผาจากการทำร้ายของชีเปลือย

          ลักษณะของม้านิลมังกร ตัวเป็นม้าหัวเป็นมังกร หางเหมือนนาค ลำตัวเป็นเกล็ดสีดำแวววาว เหมือนดั่งชื่อ กินอาหารได้หลายอย่าง สันนิษฐานว่า สุนทรภู่จินตนาการมาจาก กิเลน (Kirin)ของจีน ในวรรณคดีของจีนเรื่องต่าง ๆ ที่เข้าสู่ประเทศไทยแล้วในเวลานั้น เช่น ไซฮั่น เพราะไม่ปรากฏสัตว์ลักษณะเช่นนี้ในความเชื่อหรือวรรณคดีเรื่องใดของไทยมาก่อน

          ปัจจุบัน ม้านิลมังกรใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์และฉายาของสโมสรระยองเอฟซี สโมสรฟุตบอลในระดับไทยลีกดิวิชั่น




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ม้านิลมังกร




การกำเนิดสุดสาครและสุดสาครพบกับม้านิลมังกร