วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรณคดี (กิเลน)


กิเลน






กิเลน  เป็นคำที่มาจากภาษาจีน ซึ่งเป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพนิยายของจีน

กิเลนของไทย

ชาวไทยรู้จักกิเลนของจีนมานานแล้ว ปรากฏในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ที่ช่างโบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้า กระบวนแห่พระบรมศพครั้งรัชกาลที่ 3 ก็มีรูปกิเลนจีนทำหนวดยาว ๆ ส่วนภาพกิเลนแบบไทย มีกระหนกและเครื่องประดับเป็นแบบไทย ๆ การจัดลายประกอบผิดไปจากในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ของโบราณนั้นบ้าง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ กิเลนไทยมีสองเขา ส่วนของจีนแท้ ๆ มีทั้งที่ปรากฏรูปเป็นกิเลนเขาเดียว (ซึ่งทำให้มีการเปรียบเทียบกับยูนิคอร์นของนิยายตะวันตก) และที่เป็นสองเขาเหมือนเขากวางก็มี แม้แต่กิเลนจีนที่มีสามเขาก็มีปรากฏอยู่บ้าง ดังภาพถ่ายกิเลนจีนในพระราชวังต้องห้ามกรุงปักกิ่ง ก็มีสองเขา

ในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของกวีเอกสุนทรภู่ ก็มีสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกิเลนนี้ในเรื่องด้วย คือ ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร นั่นเองปัจจุบันกิเลนเป็นมาสคอตของสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

ที่มาของกิเลน

เชื่อว่า กิเลนมีที่มาจากยีราฟ ที่มากับเรือสินค้าที่กลับจากเบงกอลในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ (ค.ศ. 1402-1424) แห่งราชวงศ์หมิง โดยนำมาจากเมืองมาลินดี (เคนยา) กลับโดยผ่านนานกิง ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวจีนไม่เคยเห็นมาก่อน จึงเชื่อว่าเป็นกิเลน และทรงโปรดให้จิตรกรวาดภาพกิเลนเอาไว้ประดับในพระราชวัง ต่อมาภาพนี้ชำรุดเสียหาย ต่อมาในยุคราชวงศ์ชิง พระจักรพรรดิจึงสั่งให้วาดเอาไว้

ส่วนเกี่ยวข้อง

หากเทียบกับเทพปกรณัมของตะวันตก ถือได้ว่ากิเลนมีลักษณะเฉพาะใกล้เคียงกับยูนิคอร์น


ที่มา:กิเลน - วิกิพีเดีย

สัตว์ในวรรณคดี (ครุฑ)

ครุฑ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ครุฑ





ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ

ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"

ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ

ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภท


  1. ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่มีปีก
  2. ตัวเป็นคน หัวเป็นนก
  3. ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก
  4. ตัวเป็นนก หัวเป็นคน
  5. รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว


ครุฑในทางพุทธศาสนา

ครุฑในทางพุทธศาสนาจัดเป็นเทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่งภายใต้การปกครองของท้าววิรุฬหก ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศใต้ เหตุที่มาเกิดเป็นครุฑเพราะทำบุญเจือด้วยโมหะ

ครุฑมีกำเนิดทั้ง 4 แบบ คือ โอปปาติกะ (เกิดแบบผุดขึ้น) ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์) อัณฑชะ (เกิดในไข่) และสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) มีที่อยู่ตั้งแต่พื้นมนุษย์ ป่าหิมพานต์ ป่าไม้งิ้วรอบเขาพระสุเมรุ จนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ครุฑชั้นสูงจะมีกำเนิดแบบโอปปาติกะ มีขนสีทอง มีเครื่องประดับแบบเทพบุตรเทพธิดา มีชีวิตอยู่เหมือนเทวดา แปลงกายได้ และบริโภคอาหารทิพย์เช่นเดียวกันเทวดา แต่ครุฑบางประเภทก็กินผลไม้หรือเนื้อสัตว์ บางประเภทถ้าผูกเวรกับนาค ก็จะกินนาคเป็นอาหาร หรือถ้าผูกเวรกับสัตว์นรกในยมโลก ก็จะสมัครใจไปเป็นนายนิรยบาลลงทัณฑ์สัตว์นรก

ชื่อของครุฑ
ครุฑมีชื่อเรียกหลายนาม 


  1. กาศยปิ (บุตรแห่งพระกัศยปมุนี)
  2. เวนไตย (บุตรแห่งนางวินตา)
  3. สุบรรณ (ผู้มีปีกอันงาม)
  4. ครุตมาน (เจ้าแห่งนก)
  5. สิตามัน (ผู้มีหน้าสีขาว)
  6. รักตปักษ์ (ผู้มีปีกสีแดง)
  7. เศวตโรหิต (ผู้มีสีขาวและแดง)
  8. สุวรรณกาย (ผู้มีกายสีทอง)
  9. คคเนศวร (เจ้าแห่งอากาศ)
  10. ขเคศวร (ผู้เป็นใหญ่แห่งนก)
  11. นาคนาศนะ (ศัตรูแห่งนาค)
  12. สุเรนทรชิต (ผู้ชนะพระอินทร์)

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี(สินธพ)


สินธพ


          สินธพ เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลม้า ลักษณะภายนอกจะเป็นม้ามีหางเป็นปลาตัวสีดำ หางแปรงสีขาว อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาบ คำว่าสินธพหมายถึงม้าแม่น้ำ รากศัพท์มาจากคำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศอินเดีย[1] สินธพเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดับสระอโนดาดบริเวณพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ความหมายของชื่อ
สินธพ แปลว่า ม้าพันธุ์ดี เดิมหมายถึงม้าพันธุ์ดีที่เกิดในลุ่มแม่น้ำสินธุ คำว่า “สินธุ”อีกทั้งยังเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธุในปัจจุบันง เหตุที่ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้มีชื่อเสียงด้านม้า

ลักษณะพิเศษ
ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย





สัตว์ในวรรณคดี(มาริศ)

มาริศ


มารีศ หรือ ม้ารีด เป็นยักษ์กายสีขาว เป็นบุตรของนางกากนาสูร เมื่อทศกัณฐ์ได้ฟังคำยอโฉมนางสีดาจากนางสำมนักขา ก็ให้หลงใหลอยากได้นางเป็นชายา จึงบังคับมารีศให้แปลงเป็นกวางทองเดินไปให้นางสีดาเห็น นางสีดาอยากได้กวางทองจึงอ้อนวอนให้พระรามออกไปจับมาให้ พระรามรู้ว่าเป็นยักษ์จึงใช้ศรยิงมารีศล้มลง มารีศแกล้งดัดเสียงเป็นพระรามร้องขึ้นดัง ๆ เหมือนได้รับบาดเจ็บ นางสีดาได้ยินคิดว่าพระรามมีอันตรายขอให้พระลักษมณ์ตามไปช่วย แล้วมารีศก็ขาดใจตาย
มารีศ มีบุตรคือ นนยวิก วายุเวก
อนึ่งในจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สะกดชื่อมารีศว่า "ม้ารีด" โดยภาพของมารีศมีลักษณะคือตัวเป็นม้า หน้าเป็นยักษ์
ลักษณะหัวโขน
กายสีขาว สวมมงกุฎ 3 กลีบ


สัตว์ในวรรณคดี(กินรี)





กินรี





          กินรี (อ่านว่า กิน-นะ-รี) (ตัวเมีย) และ กินนร หรือ กินรา (อ่านว่า กิน-นะ-รา) (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาส นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน


ต้นกำเนิด

            กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเสกของพระพุธ (พระพุธ คือ ฤๅษี สามารถมีเมียได้ และท้าวอิลราช เมื่อช่วงเดือนที่เป็นหญิงก็น่าจะลืมช่วงที่เคยเป็นชายจึงยอมเป็นเมียฤๅษี)

          ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินนร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ 1,000 ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพรานบุญดักจับตัวได้

และในกัลลาติชาดก ยังได้แบ่งพวกกินนรออกเป็น 7 ประเภท คือ

1.เทวกินรา เป็นพวกเทพกินรา ครึ่งเทวดาครึ่งนก เป็นประเภทที่คนไทยคุ้นเคย
2.จันทกินรา จากนิทานชาดก เรื่องจันทกินรี มีรูปกายเป็นคน แต่มีปีก
3.ทุมกินรี น่าจะเป็นพวกอาสัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
4.ทัณฑมาณกินรา ชนิดนี้น่าจะมีอะไรคล้ายๆ นกทัณฑิมา ซึ่งเป็นนกปากยาวดุจไม้เท้าอยู่บนใบบัว
5.โกนตกินรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด
6.สกุณกินรา - เป็นกินนรที่มีร่างท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก แต่ไม่เป็นเทวดาเหมือนประเภทที่ 1
7.กัณณปาวรุณกินรา - ยังไม่ทราบว่ามีลักษณะใด


จิตรกรรม

          ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย

นาฏกรรม

          นางกินรี มีในวรรณกรรมของไทยหลายเรื่อง เรื่องที่แพร่หลายที่สุด คือวรรณกรรมเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งตัวนางเอกเป็นนางกินรี มาจากป่าหิมพานต์และถูกจับได้เมื่อลงมาเล่นน้ำในสระ จนต้องกลายเป็นพระมเหสีของพระสุธนผู้เป็นมนุษย์ และถูกกลั่นแกล้งให้ถูกเผาทั้งเป็น แต่นางใช้อุบายหลอกขอปีกหางที่ถูกยึดไว้และบินหนีรอดมาได้ ภายหลังพระสุธนออกติดตามไปยังป่าหิมพานต์และได้พบกันในที่สุด นาฏกรรมในเรื่องนี้มีหลายชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ชุด มโนราห์บูชายัญ , ระบำกินรีร่อน และระบำไกรลาศสำเริง

          ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ได้ประดิษฐ์ท่ารำให้มีลีลาอ่อนช้อย งดงาม กับทั้งสอดแทรกความร่าเริงของเหล่ากินรี ที่โผผินบินมาเริงระบำกันอย่างสนุกสนาน โดยให้เข้ากับท่วงทำนองและจังหวะเพลง บางครั้งรำก่อนมโนราห์บูชายัญ หรือบางครั้งก็รำต่อท้ายมโนราห์บูชายัญ

ที่มา:กินรี-วิกิพีเดีย

วีดีโอประกอบ






วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี (เงือก)


เงือก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นางเงือก




 เงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ในหลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย

โดยเชื่อว่า แท้จริงแล้วสัตว์ที่มนุษย์เห็นเป็นเงือก คือ พะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ ที่เมื่อให้นมลูกแล้วจะลอยตัวกลางน้ำเหมือนผู้หญิงให้นมลูก

ในประเทศไทยภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดตรีทศเทพวรวิหาร กรุงเทพมหานครเงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกันหนึ่งองค์ ชื่อว่า สุดสาคร

ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้
  1. งู : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน 
  2. สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏในลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน
  3. สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้ 
  4. มังกร คนไทบ้างกลุ่มในประเทศจีนและเวียดนาม จะเรียกมังกรว่า "เงือก" เช่น ไทปายี ไทเมือง และกะเบียว ในเวียดนาม


ลักษณะของเงือกที่พบในไทยตามเรื่องเล่าพื้นบ้าน
          มีใบหน้าเล็กขนาดเท่างบน้ำอ้อย
มีหวีและกระจก มักจะปรากฏกายขึ้นเหนือน้ำในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเพื่อนั่งสางผม ถ้ามีใครผ่านมาเห็นจะตกใจหนีลงน้ำโดยทิ้งเอาไว้ ถ้ามีผู้ได้ครอบครองสามารถที่จะเข้าฝันทวงคืนได้
มีเสียงไพเราะทำให้เดินตกน้ำได้ 








วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ในวรรณคดี(ม้านิลมังกร)


ม้านิลมังกร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ม้านิลมังกร



          ม้านิลมังกร หรือ ม้ามังกร สัตว์ประหลาดในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ตามจินตนาการของสุนทรภู่ เป็นพาหนะของสุดสาคร โดยสุนทรภู่ได้รจนาถึงลักษณะของม้านิลมังกรไว้ว่า

พระนักสิทธิ์พิศดูเป็นครู่พัก หัวร่อคักรูปร่างมันช่างขัน
เมื่อตัวเดียวเจียวกลายเป็นหลายพันธุ์ กำลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร
กินคนผู้ปูปลาหญ้าใบไม้ มันทำได้หลายเล่ห์อ้ายเดรฉาน
เขี้ยวเป็นเพชรเกล็ดเป็นนิลลิ้นเป็นปาน ถึงเอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน
เจ้าได้ม้าพาหนะตัวนี้ไว้ จะพ้นภัยภิญโญสโมสร
ให้ชื่อว่าม้านิลมังกร จงถาวรพูนสวัสดิ์แก่นัดดา

          โดยที่สุนทรภู่แต่งให้ม้านิลมังกร ปรากฏตัวครั้งแรกที่ชายหาด เกาะแก้วพิสดาร และสุดสาครไปพบเข้าเป็นสัตว์ดุร้าย มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ สุนทรภู่ได้ให้รายละเอียดความเป็นมาของสัตว์ประหลาดนี้ โดยแต่งให้พระโยคีหรือพระฤๅษีแห่งเกาะแก้วพิสดาร ได้รับฟังคำบอกเล่าของสุดสาครแล้วเพ่งดูทางใน จึงรู้ถึงที่มาของสัตว์ประหลาดนี้ ว่า

พระทรงศิลป์ยินสุดสาครบอก นึกไม่ออกอะไรกัดหรือมัจฉา

จึงเล็งญาณฌานชิดด้วยฤทธา ก็รู้ว่าม้ามังกรสมจรกัน

ครั้นลูกมีศีรษะมันเหมือนพ่อ ตัวตีนต่อจะเหมือนแม่ช่างแปรผัน

หางเป็นนาคมาข้างพ่อมันต่อพันธุ์ พระนักธรรม์แจ้งกระจ่างด้วยทางฌาน

จึงนึกว่าม้านี้มันมีฤทธิ์ จำจะคิดจับไว้ให้พระหลาน

ได้ตามติดบิตุรงค์พบวงศ์วาน สิทธาจารย์ดีใจจึงไขความ

ม้าตัวนี้ดีจ้านเจียวหลานเอ๋ย เป็นกะเทยเขี้ยวเพชรไม่เข็ดขาม

จับไว้ขี่มีสง่ากล้าสงคราม จะได้ตามบิตุเรศไปเขตคัน

          กล่าวคือ สัตว์ประหลาดนี้เป็นลูกผสม เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างม้า (แม่) กับมังกร (พ่อ) ลูกที่ออกมาเป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร ส่วนหัวเป็นมังกรเหมือนพ่อ ส่วนตัวจนถึงขาเป็นม้าเหมือนแม่ มีหางนาค และเป็นกะเทย (สุนทรภู่น่าจะได้ความคิดมาจากการผสมข้ามพันธุ์ม้ากับลา ทำให้ได้ลูกออกมาเป็นล่อ ซึ่งจะไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้)

          พระโยคีได้สอนมนต์ให้สุดสาครใช้กำราบม้ามังกร รวมทั้งให้ไม้เท้าวิเศษของตนไปใช้ต่อสู้กับม้ามังกรด้วย ในที่สุด ม้านิลมังกร ก็ถูกปราบจนเชื่องกลายเป็นสัตว์พาหนะของสุดสาคร และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อนาย จากการมาช่วยสุดสาครที่ตกหน้าผาจากการทำร้ายของชีเปลือย

          ลักษณะของม้านิลมังกร ตัวเป็นม้าหัวเป็นมังกร หางเหมือนนาค ลำตัวเป็นเกล็ดสีดำแวววาว เหมือนดั่งชื่อ กินอาหารได้หลายอย่าง สันนิษฐานว่า สุนทรภู่จินตนาการมาจาก กิเลน (Kirin)ของจีน ในวรรณคดีของจีนเรื่องต่าง ๆ ที่เข้าสู่ประเทศไทยแล้วในเวลานั้น เช่น ไซฮั่น เพราะไม่ปรากฏสัตว์ลักษณะเช่นนี้ในความเชื่อหรือวรรณคดีเรื่องใดของไทยมาก่อน

          ปัจจุบัน ม้านิลมังกรใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์และฉายาของสโมสรระยองเอฟซี สโมสรฟุตบอลในระดับไทยลีกดิวิชั่น




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ม้านิลมังกร




การกำเนิดสุดสาครและสุดสาครพบกับม้านิลมังกร